วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ไล่เม็ด scoopy i

สวัสดีครับ วันนี้ผมจะมานำเสนอวิธีการไล่เม็ด การใส่เม็ด การใส่แหวนลองชาม รวมถึงเทคนิค
การใส่ชาม โดยวิธีของผม จากการใช้เงในชีวิตประจำวัน เลยอยากนำมาแบ่งปันเทคนิคให้เพื่อนๆได้
ลองนำไปใช้กัน

* ขอบอกตรงนี้ก่อนนะครับ ว่าเทคนิคการไล่เม็ด สูตรไล่เม็ด นั้นไม่มีตายตัวครับ
   มันขึ้นอยู่กับ ปัจจัยหลายๆปัจจัย เช่น น้ำหนักคนขับ น้ำหนักรถ คนซ้อน สัมภาระ
   ความสมบูรณ์ของเครื่องยนต์ แรงดันลมยาง ขนาดล้อและยาง  สภาพถนน
   และการใช้รถของแต่ละคน ก็ไม่เหมือนกัน
# ฉนั้น สูตรไล่เม็ด ไม่มีตายตัวครับ และไม่มีสูตรไหน ถูก ผิด แต่มันอยู่ที่ สูตรไหนเหมาะกับเรามากกว่า


นี่คือสูตรไล่เม็ดเท่าที่ผมเคยลองใช้กับชามแต่งตัวนี้ มานะครับ
ถ้าใช้ชามแต่ง สำนักอื่น อาจจะไล่แตกต่างออกไปนะครับ

คนขับสูง 178 ซม.
น้ำหนัก    60 กก.
ล้อแม็ก ขอบ 14 ยางหน้า 80/90 หลัง 90/90
ลมยาง  หน้า 29 PSI หลัง 34 PSI
เครื่องยนต์ ฟิตเครื่องมา ทำลูกเดิม ไซส์ 0.50
ที่เหลือเดิม หมดครับ


10 G / 6 เม็ด -  ต้นดีมาก ขับรถติดหรือ ทางสั้นมากๆสบายๆ เร่งแซงแรงสั่งได้ ไม่อืด
                     -  กลางดี ใช่รอบสูงกว่าชามเดิมเม็ดเดิมมาก ใช้คันเร่งมากกว่า แต่ก็ไม่อืด เร่งแซงสบาย
                     -  ปลายตันไว ผมทำได้ที่ 105 ตามไมล์ ก็สุดแล้วทั้งหมอบทั้งดันความเร็วก็ไม่เพิ่ม

10 G / 6 เม็ด  (ใส่แหวนลองชาม)
                     -  ต้นดีโครตๆ บิดทีแทบหงาย เหมาะกับเอาไว้ยกเล่นๆ ใช้รอบสูงมากๆ
                     -  กลาง เริ่มอืดเครื่องใช้รอบเยอะมาก เริ่มบิดไม่ค่อยพุ่ง มีแต่รอบ
                     -  ปลาย ไม่ได้ลองครับ แต่คงตันไวกว่า

12 G / 6 เม็ด ( ปัจจุบัน ไล่แบบนี้อยู่ครับ ค่อนข้างเหมาะกับตัวผม )
                     -  ต้นดี ขับคนเดียวเหมาะครับ ไม่อืดเกินไป แซงตอนต้นๆ ใช้ได้เลยครับ
                     -  กลาง ช่วง 60-70 ค่อนข้างอืดๆ ครับ แซงช่วงความเร็วนี้จะยากหน่อย
                     -  ปลายดีมาก ตั้งแต่ 80 ขึ้นไป รถเริ่มวิ่งดีครับ ไม่อืด ถ้าแซงที่ความเร็วนี้จะดีมาก
                         ที่ 80 ใช้คันเร่งไม่เยอะครับ เหลือคันเร่งไว้ดันอีกเยอะ ปลายได้ 115-120 แล้วแต่ลม

12 G / 6 เม็ด  (ใส่แหวนลองชาม)
                     - ต้นดีมากครับ ใช้รอบเยอะกว่าไม่ใส่แหวน นิดนึง
                     - กลางเร่งดีครับ แซงช่วง 60-80 ค่อนข้างทันใจ
                     - ปลายตันไวครับ ได้ 110 ไปต่อไม่ไหว

10 G / 3 เม็ด, 12 G / 3 เม็ด
                     -  ต้นดึงดีมากขึ้นไว
                     - กลางอืด ตั้งแต่ 50 ไป
                  ( สำหรับผมอันนี้ไม่ค่อยโอเค ครับ เนื่องจากที่ความเร็วช่วง 40-50 รถเหมือนมี
                      เปลี่ยนเกียร์ครับจากดึงๆ ที่รอบต้น พอเม็ดหนักขึ้น ทำให้ อืดไปเลยครับ )

10 G / 3 เม็ด, 13 G / 3 เม็ด
                      - อันนี้ยิ่งหนักเลยครับ เม็ดน้ำหนัก มันห่างกันเกินไป รอบไม่สมูทเลยครับ
                        รถมีการเปลี่ยนเกียร์
                        ต้นดึง พอเม็ดหนักขึ้น อืดเลยครับ
13 G / 6 เม็ด
                      -  ต้นอืด ยิ่งถ้ามีคนซ้อนยิ่งหนักครับ
                      -  กลาง ดี จะเริ่มดึงๆที่ 80 ขึ้นไป
                      -  ปลายไหล แต่ต้องไหลไกลมากๆ และต้องดูดรถข้างหน้าถึงจะวิ่งดี
                          เหมาะกับไว้ดันดูดคันข้างหน้า ถ้าปะทะลม จบครับ อืดดดดดด

ผมเลยแนะนำว่าถ้าไล่เม็ดก็ให้ไล่ น้ำหนัก เท่ากันทั้ง 6 เม็ดไปเลยครับ หรือไม่ให้น้ำหนักเม็ดห่างกันมากครับ ไม่งั้นอาจเป็นเหมือนผมได้  ทำให้เราหงุดหงิดเปล่าๆ ประมาณเหมือนรถเกียร์ที่รีบสับเกียร์อะครับ
เร่งๆ อยุ่เกียร์ 1 แต่ไปตบเกียร์ 3 ไรเงี้ยอะครับ

 ชามแต่ง scoopy i

  หลายคนเลือกที่จะเปลี่ยนชาม หรือนำชามเดิมไปขูด ไปปาดหน้าชาม แต่ตามที่สูตรแต่ละสำนัก


ส่วนประกอบของชาม หลักๆ ก็มี
1. ชามเม็ด
2. เม็ดน้ำหนัก
3. แผ่นโค้ง
4. แผ่นสไลด์
5. บูชชาม

เราลองมาเปรียบเทียบ ชามเดิม กับ ชามแต่ง กันดีกว่า

ด้านหน้า

ซ้าย: ชามเดิม ขวา: ชามแต่ง

ด้านหลัง

ซ้าย: ชามเดิม ขวา: ชามแต่ง

ด้านข้าง

จะเห็นว่า ชามแต่งมีการกลึงคลีบด้านข้างออกเพื่อความเบาของชาม 
เป็นการลดภาระของเครื่องยนต์



เปรียบเทียบร่องเม็ด ของชามเดิม (ซ้าย) ชามแต่ง (ขวา) จะเห็นว่าร่องเม็ดของชามแต่งนั้นมีการกลึงออก
เพื่อให้เม็ดน้ำหนักนั้น วิ่งขึ้นสูงขึ้น ทำให้ชามสามารถบีบ สายพานให้ขึ้นสูงกว่าเดิม ส่งผลให้รถมี
ความเร็วปลายที่เพิ่มขึ้น โดยไม่ต้องปรับแต่งเครื่องยนต์เพียงแต่แต่อย่างใด

                                                                       เม็ดน้ำหนัก


   เม็ดที่ใช้ สำหรับชาม scoopy i (ตัวเก่า) จะเป็นเม็ดเล็กนะครับ
* เม็ด scoopy i ตัวเก่า กับ ตัวใหม่ ไม่เหมือนกันนะครับ และไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ 
   (เนื่องจากในตัวใหม่มีการเปลี่ยนชามเป็นแบบใหม่)
   ฉนั้นตอนเลือกซื้อเม็ดก็เลือกให้เป็นเม็ดเล็กนะครับ 

เม็ด 13g คือเม็ดเดิม scoopy i ตัวเก่า
เม็ด 12g คือเม็ดเดิม icon   (สามารถใช้ร่วมกันได้ครับ)
เม็ด 10g คือเม็ดแต่ง PAYU 

# แนะนำอีกอย่างครับ สำหรับท่านที่อยากได้เม็ดทนๆ แนะนำว่าให้ใช้เม็ดเดิมครับ 
   เพราะเนื่องจากเม็ดแต่ง นั้นมีความทนทานที่ต่ำ คือใช้ไปไม่กี่ พันกิโล ก็สึกจนเห็นได้ชัดแล้วครับ
   แต่ก็มีข้อดีคือ น้ำหนักมีให้เลือกหลาย กรัม เหมาะกันคนที่ชอบเปลี่ยนเม็ดเองปล่อยๆครับ

เทคนิคการใส่เม็ด
การใส่เม็ดในชาม ให้ใส่ด้านที่เป็น พลาสติก หันไปในทิศทาง ทวนเข็มนาฬิกาเสมอนะครับ



แถบฝั่งซ้ายคือ ด้านที่เป็นพลาสติก
แถบฝั่งขวา คือ ด้านที่เป็นเหล็ก

และก็ใส่เม็ดลงไปให้ครบทั้ง 6 เม็ด

ใครจะไล่ 4 เม็ด 5 เม็ด ก็ได้นะครับ
แต่สำหรับผม ผมไล่ 6 เม็ดล้วน เพื่อชามจะได้บาลานซ์ และกินสายพานเท่าๆกันครับ


แล้วก็นำตัวแผ่นสไลด์ใส่เข้าไปกับแผ่นโค้ง ตัวแผ่นสไลด์ แนะนำว่าถ้ามันมีการให้ตัวที่มากหรือหลวมมากเกินไปจับดู แล้วมันโยกซ้ายขวาได้เยอะ ก็แนะนำให้เปลี่ยนเลยครับ  ราคาไม่เท่าไหร่ เพราะถ้ามันหลวมมาก จะมีเสียงดังครับ


จากนั้นก็นำแผ่นโค้งใส่เข้าไปกับชาม

ประกอบบูชแล้วเข้าไปในชาม แล้วเตรียมประกอบครับ
(ไม่จำเป็นต้องทาจาระบีระหว่างบูทกับชาม กันจาระบีไหลไปโดนสายพาน)
อัพเดท 27/3/2563

เทคนิคการบาลานซ์ชามเม็ดกับ ข้อเหวี่ยง

เป็นเทคนิคเล็กน้อย เพื่อเพิ่มความสมดุลย์ของชาม เพื่อให้ชามบาลานซ์ดีที่สุด
โดยการขีดเส้นเป็นเส้นตรงจากกึ่งกลางชามมาหา เสาชาม (เสาตัวใดก็ได้ มี 3 เสา)

เสาชามทั้ง 3 ต้น

ให้สังเกตุที่ข้อเหวี่ยงจะมีมาร์คอยู่ เป็นจุดเล็กๆที่ปลายข้อเหวี่ยง

ให้เราทำการใส่ชามโดยให้เส้นที่เราขีดไว้ ตรงกับมาร์คที่ปลายข้อเหวี่ยง

และก็ทำการประกอบสายพาน ชามใบพัด กับให้เรียบร้อย สำหรับวิธีการ ถอด-ประกอบชาม
ที่ผมเคยเขียนไว้ สามารถดูได้ที่ Link นี้


การใส่แหวนลองชาม

การใส่แหวนลองชามก็เพื่อ ให้สายพานลงต่ำกว่าเดิมที่ชามหน้า และขึ้นสูงกว่าเดิมที่ชามหลัง
ทำให้ ความเร็วต้นดี  แต่ก็ต้องยอมเสียความเร็วปลาย

ใส่แหวนลองชาม = ต้นดี กลางดี ปลายหมดเร็ว

วิธีการใส่แหวนลองชาม มีหลายคนสงสัยว่า แหวนลองชามใส่ตรงไหน ใส่ตรงนี้นะครับ ต่อจาก บูชชาม


หน้าตาของแหวนลองชาม

แหวนลองชาม สามารถใช้ของ ฟีโน่ อิลิแกน ได้ครับ ราคาไม่กี่สิบบาท

จบแล้วครับ สำหรับเทคนิคการไล่เม็ด การใส่เม็ด เล็กๆน้อยๆ หวังว่าคงเป็นประโยชน์ ไม่มากก็น้อยนะครับ  ถ้าผมพิมพ์ผิด หรือผิดพลาดประการใด ผมขออภัยล่วงหน้าด้วยนะครับ 

ชี้แนะผมได้นะครับ จะนำไปปรับปรุงให้ดีขึ้น  ไว้เจอเจอกัน คราวหน้า  สวัสดีครับ  -^-

รวมกระทู้อื่นๆที่น่าสนใจ

ตั้งวาล์ว scoopy i
http://nookmodifly.blogspot.com/2016/07/scoopy-i.html

วิธีแก้ปัญหาเบรคหน้าค้าง
http://nookmodifly.blogspot.com/2016/06/blog-post.html

ซ่อมปั๊มเบรค
http://nookmodifly.blogspot.com/2015/02/blog-post.html

จาน 260 mm. ใส่ scoopy i
http://nookmodifly.blogspot.com/2015/02/project-racing-boy-disc-brake-260mm-for.html

Top-Speed SCOOPY I

http://nookmodifly.blogspot.com/2016/06/87-12-6-60.html


วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559

เบรคหน้ามอเตอร์ไซด์ ค้าง

เบรคหน้าค้าง มีทางแก้

สำหรับหลายคนที่มีปัญหาเบรคหน้าค้าง ฝืด ไม่คืนตัว สามารถทำตามวีดีโอนี้ได้เลย คลิกที่นี่
เป็นการแก้ปัญหาเบื้องต้น และควรหมั่นดูแลรักษา ทุกๆ 10,000 กม.
เผื่อประสิทธิภาพเบรคที่ดี และความปลอดภัย
ไม่ดีแน่หากปัญหานี่เกิดตอนจะใช้งาน

สาเหตุหลักๆที่ทำให้เบรคหน้าค้างคือ
- ขาดการดูแลรักษา ไม่มีการถอดมาใส่จารบี ทำให้จารบีแห้งและทำให้แกนปั้มติด
  ขยับไม่ได้ ทำให้เบรคค้าง ไม่จับจานเบรค จับข้างเดียว กินผ้าเบรคข้างเดียว บ้าง
- ซีลกันฝุ่นขาด เนื่องจากเก่า แล้วเสื่อมสภาพ ทำให้ฝุ่นสามารถเข้าไปได้ และสะสม
  ทำให้สกปรก จนทำให้แกนปั็มติด






วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2559

Top-Speed Test


ดันโล ทดสอบชามแต่ง


                                               ชามสำนัก พงศ์ฤทธิ์โมหัวฉีด นวมินทร์ 87


                                               เม็ด 12 กรัม 6เม็ด


                                               คนขับหนัก 60 กก.


                                               ล้อแม็กขอบ 14 


                                                อากาศเย็น  กลางคืน เวลา 5 ทุ่มโดยประมาณ


คลิปทดสอบ  คลิก



ฝากกดติดตาม เพื่อเป็นกำลังใจให้ผม ด้วยนะครับ